กริยาสามชนิดและรูปพจนานุกรม
สวัสดีครับ วันนี้จะพูดถึงเรื่องไวยากรณ์พื้นฐานในภาษาโอกินาว่าเรื่อง คำกริยา ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว คำกริยาในภาษาโอกินาว่ามีพฤติกรรมคล้ายกับภาษาญี่ปุ่น คือ มีการผันตามกาล วาจก (ผู้กระทำหรือผู้ถูกกระทำ / อังกฤษ: voice) การแสดงความต่อเนื่องและอื่น ๆ สำหรับในบทความนี้จะพูดถึงเฉพาะ รูปทั่วไป รูปทั่วไปแบบสิ้นสุด และ รูปทั่วไปแบบขยายคำนาม
ก่อนอื่นจะขอแนะนำประเภทของคำกริยา โดยคำกริยาในภาษาโอกินาว่าแบ่งเกณฑ์ตามเสียงของรากคำแล้ว แบ่งได้เป็น ๒ ประเภทหลัก ๓ ประเภทย่อย ได้แก่
- คำกริยาที่รากคำมีตัวสะกด(子音語幹動詞)
- คำกริยาที่รากคำไม่มีตัวสะกด(母音語幹動詞)
2.1. คำกริยาที่รากคำไม่มีตัวสะกดแบบมีเสียงหลัก
2.2. คำกริยาที่รากคำไม่มีตัวสะกดแบบไม่มีเสียงหลัก (โดยมากมักจะเป็นกริยาที่มีรูปผันนอกกฎ)
โดยคำกริยาแต่ละคำกริยาในภาษาโอกินาว่า จะมีเสียงฐานสำหรับการผันรูป 3 เสียง ได้แก่
- เสียงมาตรฐาน(基本音)
- เสียงนี้ใช้ในการแบ่งประเภทของคำกริยาว่ารากคำมีตัวสะกดหรือไม่ หากคำกริยาที่รากคำไม่มีตัวสะกดจะมีเสียงมาตรฐานคือเสียง
r
- เสียงนี้ใช้ในการแบ่งประเภทของคำกริยาว่ารากคำมีตัวสะกดหรือไม่ หากคำกริยาที่รากคำไม่มีตัวสะกดจะมีเสียงมาตรฐานคือเสียง
- เสียงหลัก หรือ เสียงสอง(準体音/派生音)
- เสียงเชื่อมต่อ หรือ เสียงเปลี่ยน หรือ เสียงสาม(接続音/音便音)
ในบทความนี้จะพูดถึงเฉพาะเสียงหลัก หรือ เสียงสอง เท่านั้น
สำหรับเสียงอื่น ๆ จะใช้ในการผันกริยารูปอื่นซึ่งจะกล่าวถึงในบทความถัดไป เช่น เสียงมาตรฐานใช้ผันรูปปฏิเสธ (否定形 / negative) เสียงเชื่อมต่อใช้ผันรูปกำลังทำ (継続形 / continuos) เป็นต้น
โดยวิธีการเขียนเสียงของคำกริยาในเว็บไซต์นี้จะใช้รูปแบบดังนี้ เช่น
ka~cuN|k,c,c
หมายถึง คำกริยานี้ มี…- รูปพจนานุกรมคือ
kacuN
- รากคำศัพท์คือ
ka
- เสียงมาตรฐานคือ
k
(คำกริยาประเภทรากคำมีตัวสะกด) - เสียงหลัก หรือเสียงสอง คือ
c
- เสียงเชื่อมต่อ หรือเสียงสาม คือ
c
- รูปพจนานุกรมคือ
ʔi~cuN|k,c,z
หมายถึง คำกริยานี้ มี…- รูปพจนานุกรมคือ
ʔicuN
- รากคำศัพท์คือ
ʔi
- เสียงมาตรฐานคือ
k
(คำกริยาประเภทรากคำมีตัวสะกด) - เสียงหลัก หรือเสียงสอง คือ
c
- เสียงเชื่อมต่อ หรือเสียงสาม คือ
z
- รูปพจนานุกรมคือ
ja~N|r,×,t|irr
หมายถึง คำกริยานี้ มี…- รูปพจนานุกรมคือ
jaN
- รากคำศัพท์คือ
ja
- เสียงมาตรฐานคือ
r
(คำกริยาประเภทรากคำไม่มีตัวสะกด) - เสียงหลัก หรือเสียงสอง ไม่มี
- เสียงเชื่อมต่อ หรือเสียงสาม คือ
t
- บางรูปไม่ผันตามกฎ
irr
- irregular
- รูปพจนานุกรมคือ
เป็นต้น
1. คำกริยารูปทั่วไปแบบสิ้นสุด / รูปพจนานุกรม
คำกริยารูปนี้เป็นรูปมาตรฐานที่ปรากฏในพจนานุกรมภาษาโอกินาว่า และยังใช้ในประโยคหมายถึงปัจจุบันกาลด้วย เช่น
1.1. คำกริยาที่รากคำมีตัวสะกด
รากศัพท์ + เสียงหลัก + uN
- 書ちゅん
(kacuN)/(ka~cuN|k,c,c)
หมายถึง เขียน (ญี่ปุ่น: 書く)- รากศัพท์คือ
ka
โดยมีเสียงหลักคือเสียงc
ผสมกับuN
สุดท้ายได้kacuN
- รากศัพท์คือ
- 読むん
(jumuN)/(ju~muN|m,m,d)
หมายถึง อ่าน (ญี่ปุ่น: 読む)- รากศัพท์คือ
ju
โดยมีเสียงหลักคือเสียงm
ผสมกับuN
สุดท้ายได้jumuN
- *บางตำราก็ว่า 読ぬん
(junuN)/(ju~nuN|m,n,d)
- รากศัพท์คือ
- 眠じゅん
(niNzuN)/(niN~zuN|d,z,t)
หมายถึง หลับ (ญี่ปุ่น: 眠る)- รากศัพท์คือ
niN
โดยมีเสียงหลักคือเสียงz
ผสมกับuN
สุดท้ายได้niNzuN
- รากศัพท์คือ
1.2. คำกริยาที่รากคำไม่มีตัวสะกดแบบมีเสียงหลัก
คำกริยาประเภทนี้ในภาษาโอกินาว่าสำเนียงชูริ (สำเนียงในวัง) กับสำเนียงนาฮะ (สำเนียงชาวบ้าน) จะพูดไม่เหมือนกัน ดังนี้
สำเนียงชูริ:
รากศัพท์ + juN
สำเนียงนาฮะ:
รากศัพท์ + ʔiN
- 取ゆん
(tujuN)/(tu~juN|r,j,t)
หมายถึง หยิบ จับ (ญี่ปุ่น: 取る)- รากศัพท์คือ
tu
ผสมกับjuN / ʔiN
ได้tujuN / tuʔiN
- สำเนียงชูริ ว่า 取ゆん
(tujuN)/(tu~juN|r,j,t)
- สำเนียงนาฮะ ว่า 取いん
(tuʔiN)/(tu~ʔiN|r,ʔ,t)
- รากศัพท์คือ
- 気張ゆん
(cibajuN)/(ciba~juN|r,j,t)
หมายถึง พยายาม (ญี่ปุ่น: 頑張る)- รากศัพท์คือ
ciba
ผสมกับjuN / ʔiN
ได้cibajuN / cibaʔiN
- สำเนียงชูริ ว่า 気張ゆん
(cibajuN)/(ciba~juN|r,j,t)
- สำเนียงนาฮะ ว่า 気張いん
(cibaʔiN)/(ciba~juN|r,ʔ,t)
- รากศัพท์คือ
1.3. คำกริยาที่รากคำไม่มีตัวสะกดแบบไม่มีเสียงหลัก
รากศัพท์ + N
เช่น
- 有ん
(ʔaN)/(ʔa~N|r,×,t|irr)
หมายถึง มี (ญี่ปุ่น: ある)- รากศัพท์คือ
ʔa
ผสมกับN
ได้ʔaN
- รากศัพท์คือ
- 居ん
('uN)/('u~N|r,×,t)
หมายถึง มี อยู่ (ญี่ปุ่น: いる)- รากศัพท์คือ
'u
ผสมกับN
ได้'uN
- รากศัพท์คือ
- やん
(jaN)/(ja~N|r,×,t|irr)
หมายถึง เป็น อยู่ คือ (ญี่ปุ่น: である)- รากศัพท์คือ
ja
ผสมกับN
ได้jaN
- รากศัพท์คือ
การใช้รูปสิ้นสุด(終止形)
หากสังเกตจะพบว่าคำกริยาทุกคำในรูปนี้จะลงท้ายด้วยเสียง ん(~N)
คำกริยารูปนี้ จะใช้เมื่อจบประโยคเท่านั้น เช่น
-
我んねー日記書ちゅん。
(waNnee niQci kacuN)
หมายถึง ฉันเขียนไดอารี (ญี่ปุ่น: 私は日記を書く。) -
今日から気張ゆん。
(cuukara cibajuN)
หมายถึง จะพยายามตั้งแต่วันนี้ (ญี่ปุ่น: 今日から頑張る。) -
山田さのー大和人やん。
(jamadasanoo jamatuNcu jan)
หมายถึง คุณยามาดะเป็นคนญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 山田さんは日本人だ。)
2. รูปขยายคำนาม(連体形)
เปลี่ยน ん(~N)
เป็น る(~ru)
เมื่อใช้ขยายคำนาม
ในภาษาญี่ปุ่น เราสามารถใช้รูปพจนานุกรมใช้ขยายคำนามได้เลย เช่น 書く เขียน เป็น 書く人 คนที่เขียน ในภาษาโอกินาว่า จะไม่สามารถใช้รูปสิ้นสุดในการขยายคำนามได้โดยตรง (ตามชื่อรูปคือรูปสิ้นสุด คือจบประโยคแล้ว) หากต้องการใช้ขยายคำนามต้องเปลี่ยนให้อยู่ในรูปขยายคำนาม(連体形) ก่อน โดยวิธีคือ เปลี่ยน ん(~N)
ท้ายคำให้เป็น る(~ru)
เช่น
- 書ちゅん
(kacuN)
เป็น 書ちゅる(kacuru)
- 取ゆん
(tujuN)
เป็น 取ゆる(tujuru)
ในสำเนียงชูริ - 取いん
(tuʔiN)
เป็น 取いる(tuʔiru)
ในสำเนียงนาฮะ - 居ん
('uN)
เป็น 居る('uru)
ตัวอย่างประโยค
- くぬ手紙書ちゅる人ー誰やいびーが。
(kunu tigami kacuruQcoo taa jaibiiga)
[1]
หมายถึง ใครเป็นคนเขียนจดหมายฉบับนี้หรอครับ/คะ (ญี่ปุ่น: この手紙を書く人は誰ですか。)
3. รูปทั่วไป(準体形)
ตัด ん(~N)
ออกจากรูปสิ้นสุด
รูปทั่วไปคือรูปพื้นของรูปสิ้นสุดและรูปขยายคำนาม กล่าวคือ เป็นรูปที่สร้างจาก รากศัพท์ + เสียงหลัก + (u|i/ju|×)
โดยมากใช้ร่วมกับคำช่วยอื่นเพื่อเชื่อมประโยค เช่น
- くとぅ
(kutu)
หมายถึง เพราะว่า (ญี่ปุ่น: から) - しが
(siga)
หมายถึง แต่ (ญี่ปุ่น: けど/けれど)
ตัวอย่างประโยค
-
今日や雨ぬ降ゆくとぅ、家んかい居ん。
(cuu ja ami nu hujukutu jaaNkai 'uN)
[2]
หมายถึง เพราะวันนี้ฝนตกก็เลยอยู่บ้าน (ญี่ปุ่น: 今日は雨が降るから、家にいる。) สำเนียงชูริ -
今日や雨ぬ降いしが、あぬ人ー学校んかい行ちゅん。
(cuu ja ami nu huisiga ʔanuQcoo gaQkooNkai ʔicuN)
[2]
หมายถึง แม้ว่าวันนี้ฝนจะตก แต่เขาคนนั้นก็จะไปโรงเรียน (ญี่ปุ่น: 今日は雨が降るけど、あの人は学校に行く。) สำเนียงนาฮะ
สรุปคำศัพท์
1) คำกริยา
- 書ちゅん
(ka~cuN|k,c,c)
- เขียน (書く) - 行ちゅん
(ʔi~cuN|k,c,z)
- ไป (行く) - 読むん
(ju~muN|m,m,d)
- อ่าน (読む) - 眠じゅん
(niN~zuN|d,z,t)
- นอน หลับ (眠る) - 取ゆん
(tu~juN|r,j,t)
- หยิบ จับ (取る) - 気張ゆん
(ciba~juN|r,j,t)
- พยายาม (頑張る) - 降ゆん
(hu~juN|r,j,t)
- (ฝน) ตก (降る) - 有ん
(ʔa~N|r,×,t|irr)
- มี (ある) - 居ん
('u~N|r,×,t)
- อยู่ (いる) - やん
(ja~N|r,x,t|irr)
- เป็น คือ (である)
2) คำศัพท์
- 日記
(niQci)
- ไดอารี (日記) - 手紙
(tigami)
- จดหมาย (手紙) - 人
(Qcu)
- คน (人) - あぬ人
(ʔanuQcu)
- คนนั้น (あの人) - 誰
(taa)
- ใคร (誰) - 今日
(cuu)
- วันนี้ (今日) - 雨
(ami)
- ฝน (雨) - 家
(jaa)
- บ้าน (家) - 学校
(gaQkoo)
- โรงเรียน (学校)
3) คำช่วย
- くとぅ
(kutu)
- เพราะว่า (から〔理由〕) - しが
(siga)
- แต่ (けど) - んかい
(Nkai)
- บอกสถานที่ หรือจุดมุ่งหมายของคำกริยา (に〔場所〕) - ぬ
(nu)
- บอกประธานของประโยค (ญี่ปุ่นโบราณ: の, ญี่ปุ่นปัจจุบัน: が)
อ้างอิง
[1] การสร้างประธาน 人(Qcu)
+や(ja)
กลายเป็น 人ー(Qcoo)
ลักษณะเดียวกับ 御所(ʔuNzu)
อ้างอิง
[2] การใช้ ぬ(nu)
ในลักษณะเป็นประธานของประโยค เทียบได้กับการใช้ が ในภาษาญี่ปุ่นปัจจุบัน (ภาษาญี่ปุ่นในสมัยโบราณก็มีการใช้ の เป็นประธานของประโยคเช่นเดียวกัน)