การผันรูป ~ti (てぃ)
ぐすーよー今日うがなびら
สวัสดีครับ บทความในวันนี้จะพูดถึงการผันรูป ~ti ในภาษาโอกินาว่า โดยเบื้องต้นแล้ว รูป ~ti ในภาษาญี่ปุ่นก็คือรูป て ทั้งหลายนั้นเอง โดยการใช้งานปกติจะใช้สำหรับการเชื่อมต่อประโยคที่บอกลำดับการเกิดเหตุการณ์ หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า และ หลังจากนั้นก็ เป็นต้น
ในเชิงงานค้นคว้าหรืองานวิจัย มักจะเรียกรูป ~ti นี้ว่า รูปเชื่อมต่อ หรือ 接続形 ไม่ก็เรียกตรงตัวเลยว่า てぃ形/ティ形
1. คำกริยารูป ~ti
รากคำ + เสียงเชื่อมต่อ (เสียงสาม) + i
- 巻ちゅん
(ka~cuN|k,c,c)
แปลว่า ม้วน รูปเชื่อมต่อคือ 巻ち(maci)
- รากคำ
ma
+ เสียงเชื่อมต่อc
+i
ได้maci
- รากคำ
- 待ちゅん
(ma~cuN|t,c,Qc)
แปลว่า รอ รูปเชื่อมต่อคือ 待っち(maQci)
- รากคำ
ma
+ เสียงเชื่อมต่อQc
+i
ได้maQci
- รากคำ
- 食むん
(ka~muN|m,m,d)
รูปเชื่อมต่อคือ 食てぃ(kadi)
- รากคำ
ka
+ เสียงเชื่อมต่อd
+i
ได้kadi
- รากคำ
- 眠じゅん
(niN~zuN|d,z,t)
รูปเชื่อมต่อคือ 眠てぃ(niNti)
- รากคำ
niN
+ เสียงชื่อมต่อt
+i
ได้niNti
- รากคำ
- あわてぃゆん
(ʔawati~juN|r,j,t)
แปลว่า รีบ ลน รูปเชื่อมต่อคือ あわてぃてぃ(ʔawatiti)
- รากคำ
ʔawati
+ เสียงเชื่อมต่อt
+i
ได้ʔawatiti
- รากคำ
- やん
(ja~N|r,×,t|irr)
รูปเชื่อมต่อคือ やてぃ(jatiN)
- รากคำ
ja
+ เสียงเชื่อมต่อt
+i
ได้jatiN
- รากคำ
2. คำวิเศษณ์รูป ~ti
รากคำ + sati
- 寒さん
(hwiisaN)
รูปเชื่อมต่อคือ 寒さてぃ(hwiisati)
- 多さん
(ʔuhusaN)
รูปเชื่อมต่อคือ 多さてぃ(ʔuhusati)
3. รูป ~ti ของรูปปฏิเสธ
รูปปฏิเสธ + ti
- 書ちゅん
(ka~cuN|k,c,c)
รูป ~ti ของรูปปฏิเสธคือ 書かんてぃ(kakaNti)
- 分かゆん
(waka~juN|r,j,t)
รูป ~ti ของรูปปฏิเสธคือ 分からんてぃ(wakaraNti)
- 切ゆん
(ci~juN|r,j,Qc)
แปลว่า ตัด รูป ~ti ของรูปปฏิเสธคือ 切らんてぃ(ciraNti)
- 暑さん
(ʔacisaN)
รูป ~ti ของรูปปฏิเสธคือ 暑くねーらんてぃ(ʔacikuneeraNti)
การใช้งาน
ใช้สำหรับบอกลำดับของเหตุการณ์
~ti, ~ti, ~ti, ..., ~N.
ในการเรียงประโยค สามารถใช้รูป ~ti ลงท้ายประโยคย่อยเพื่อบ่งบอกลำดับเหตุการณ์เกิดก่อนหลังของคำกริยา เช่น
- 今日我んねー起きてぃ、仕事んかい行じ、夕飯食でぃ、帰やびーたん。
(cuuwaNneeʔukiti, sigutuNkai ʔizi, juubaNkadi, keejabiitaN)
หมายถึง วันนี้ฉันตื่นนอน ไปทำงาน รับประทานอาหารเย็น แล้วก็กลับบ้าน (今日私は起きて、仕事に行って、晩ご飯を食べて、帰りました。)
ใช้สำหรับเชื่อมคำวิเศษณ์
~ti, ~ti, ~ti, ..., ~N
ตัวอย่างประโยคเช่น
- タイ旅や安さてぃうむっさん。
(taitabi ja jaQsati ʔumuQsaN)
หมายถึง เที่ยวประเทศไทยทั้งถูกและสวยงาม (タイ旅行は安くて楽しい。)
ใช้สำหรับบอกเงื่อนไขลำดับ
(A)~tikara, (B)
เมื่อเกิด (A) แล้วจึงเกิด (B) เช่น
- ジュース飲でぃから家出じゆん。
(zuusu nudikara jaa ʔizijuN)
หมายถึง ดื่มน้ำผลไม้เสร็จก่อนถึงค่อยออกบ้าน (ジュースを飲んでから家を出る。)
ใช้สำหรับบอกความขัดแย้ง
(A)~tiN, (B)
แม้ว่า (A) แต่ก็ (B) เช่น
-
うぬ童ー飯食まんでぃん太ゆんさー。
(ʔunuwarabee muNkamaNdiN muteejuNsaa)
หมายถึง เด็กคนนั้นไม่กินข้าวแต่ก็อ้วน (あの子はご飯を食べなくても太る。) -
今行じん誰ん居らんどー。
(nama ʔiziN taaN'uraNdoo)
หมายถึง ไปตอนนี้ก็ไม่เจอใครหรอกนะ (今行っても誰もいないよ。) -
今日や寒さてぃん、人ぬ多さん。
(cuuja hwiisatiN, Qcu nu ʔuhusaN)
หมายถึง แม้วันนี้จะหนาวแต่คนก็ยังเยอะ (今日は寒くても人が多い。)
สรุปคำศัพท์
1) คำกริยา
- 巻ちゅん
(ma~cuN|k,c,c)
- ม้วน (巻く) - 待ちゅん
(ma~cuN|t,c,Qc)
- รอ (待つ) - あわてぃゆん
(ʔawati~juN|r,j,t)
- รีบ ลน (急ぐ) - 切ゆん
(ci~juN|r,j,Qc)
- ตัด (切る) - 起きゆん
(ʔuki~juN|r,j,t)
- ตื่น (起きる) - 太ゆん
(mutee~juN|r,j,t)
- อ้วน (太る)
2) คำวิเศษณ์
- 安さん
(yaQsaN)
- ถูก (安い) - うむっさん
(ʔumuQsaN)
- สนุก น่าสนใจ ตลก (楽しい、面白い)
3) คำนาม
- 夕飯
(juubaN)
- อาหารเย็น (夕飯、晩ご飯) - 飯
(muN)
/ 飯(munu)
- อาหาร (飯、ご飯)